เมนู

มีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่าหม่อมฉัน
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...
ในพระสงฆ์... อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล หม่อมฉัน
เฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.
พ. ดูก่อนพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดา-
ปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.
จบกาฬิโคธาสูตรที่ 9

10. นันทิยสูตร



อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท



[1599] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า นันทิยะ เสด็จ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า
[1600] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังค-
ธรรม 4 ประการโดยประการทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อ อริยสาวกนั้นหรือหนอ
ที่พระองค์ตรัสเรียกว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกใดไม่มีโสตาปัตติยังคะ 4 ประการ เราเรียกอริยสาวก
นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน อนึ่ง อริยสาวnเป็นผู้อยู่ด้วย
ความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยวิธีใด ท่านจงพึงวิธีนั้น

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นันทิยศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
[1601] ดูก่อนนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท
อย่างไร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น...
เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อ
หลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี
ปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มี
ปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็น
สมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้น
ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้น
พอใจแล้ว ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความ
สงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาท
อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ
ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อม
ไม่มีสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรม
ทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท
ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างนี้แล.
[1602] ดูก่อนนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
อย่างไร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้น
ในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มี
กายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึง
ความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้น
ยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัด
ในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท
อยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ
กอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข
ย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฎ อริยสาวกนั้นย่อม
ถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่
ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.
จบนันทิยสูตรที่ 10
จบปุญญาภิสันทวรรคที่ 4

อรรถกถาอานันทิยสูตร



พึงทราบอธิบายในนันทิยสูตรที่ 10.
คำว่า เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
ความว่า กลางวันสงัด กลางคืนหลีกเร้น. คำว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่
ปรากฏ
ได้แก่ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา ย่อมไม่เกิดขึ้น. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถานันทิยสูตรที่ 10
จบปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมอภิสันทสูตร 2. ทุติยอภิสันทสูตร 3. ตติยอภิสันทสูตร
4. ปฐมเทวปทสูตร 5. ทุติยเทวปทสูตร 6. สภาคตสูตร 7. มหานาม-
สูตร 8. วัสสสูตร 9. กาฬิโคธาสูตร 10. นันทิยสูตร และอรรถกถา.